ศาสนาซิกข์ (Sikhism) เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นคำสอนจาก นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ ในหลักคำสอนและปฏิบัติของศาสนาซิกตามหลักคำสอนที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือ คุรมัต ความหมายคือ ธรรมของซิกข์ คำว่า ซิกข์ หรือ สิกข์ ตีความหมายมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ศิษย์ คือการเรียนรู้ รวมๆแล้วก็คือการเรียนรู้ ใผ่เรียนรู้ ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เพราะศาสนาศิกศรัทธาพระเจ้าเพียงองค์เดียวก็คือ วาหคุรู ซึ่งปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า โองการของพระเจ้า ผู้ที่นับถือศาสนาซิกจะนับถือหลักคำสอนทั้งสิบของผู้ที่รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งรู้จักกันในนาม คุรุ ครันถ์ สาหิพ เป็นบทที่มีผู้ที่คัดสรรค์มากมาย จากหลักทางศาสนา รวมไปถึงเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย
สำหรับชาวซิกทุกคนต้องทำการทำ ปาหุล คือการล้างบาป และเมื่อเสร็จพิธีก็จะรับเอา กะ สิ่งที่เรียกว่าตัวอักษร ก 5 ประการ
1.เกศ การไว้ผมยาวโดยไม่ตัดเลย
2.กังฆา หวีขนาดเล็ก
3.กฉา กางเกงขาสั้น
4.กรา กำไลมือทำด้วยเหล็ก
5.กิรปาน ดาบ
เป็นความเชื่อว่าเมื่อผู้ที่ทำครบ 5 ข้อก็จะได้รับนามว่า สิงห์ ก็คือสิงโต เหมือนกันทุกคน เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของพระเจ้า สำหรับผู้หญิงก็ต้องทำเช่นกัน เรียกกว่า กอร์ หรือผู้กล้า โดยช่วงหลังการทำแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงในสมัยของคุรุโควินทสิงห์ ซึ่งเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาสิกข์ ศาสนาสิกข์ โดยในประเทศอินเดียก็จะนับถือศาสนาซิกเช่นกัน โดยจะเป็นแคว้นใกล้เคียงกันถือว่าเป็นพวกเดียวกัน เป็นพี่น้องกันโดยทางศาสนา และประเพณีของชาวซิกที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน