ศาสนานอกจากจะเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแล้วในสังคมนั้นศาสนายังเป็นอีกหนึ่งสถาบันในสังคม ซึ่งแบ่งเป็นองค์ประกอบได้ตั้งต่อไปนี้
หลักธรรมคำสอน ซึ่งเป็นการแสดงออกของพิธีกรรมและความเชื่อของบุคคลในสังคม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและปฏิบัติชีวิตประจำวัน ตัวของศาสนานั้นมีบุคคลบุคลากรทางศาสนา เป็นผู้สั่งสอนเชื่อมต่อหลักธรรม การประกอบพิธีกรรม และผู้บริหารจักการในเรื่องต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องทางศาสนาในประเทศไทยนั้นมีด้วยกันหลายศาสนา เช่น พุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาของชาวจีน ศาสนาอิสลามและศาสนาของชาวเขา จริงๆแล้วศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาโดยมีหลักคำสอนที่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี โดยให้ความหมายและคำอธิบายเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิต เกิดแก่เจ็บตาย ความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไป โดยสามารถที่จะอธิบายถึง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต บอกถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดทุกข์และชี้ทางที่ให้เกิดความสงบทำให้เกิดความหวังในชีวิต
พิธีกรรม คือการแสดงออกถึงความเชื่อ ตั้งแต่การเกิดมาของมนุษย์รวมไปถึงการตาย มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต พิธีกรรมตามฤดูกาล เทศกาลสำคัญหรือวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งมีมาอย่างยาวนานสืบต่อกันมา พิธีกรรมเหล่านี้บอกถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ของคนเรา และยังสื่อถึงความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมนุษย์กับมนุษย์ สิ่งแวดล้อม นี้เป็นเหตุผลที่ศาสนา มีหลักคำสอนกฎเกณฑ์ ที่ได้รับความเคารพและปฏิบัติตาม
สำหรับความเชื่อนั้นจะแสดงออกจากการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ที่นับถือศาสนานั้นๆ โดยมีกฎเกณฑ์ให้ทำตามและมีชื่อเรียกเพื่อให้เข้าใจเหมือนๆกันตามแนวทางเช่น พุทธศาสนามีศีล ๕ หลักศีลธรรม จริยธรรม อยู่หลายประการตามพระไตรปิฎก ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ ๑๐ ประการ ที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น