พุทธกับเทคโนโลยี

พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์และการอ้างอิงที่สอดคล้องกัน

จากการที่ผมได้เข้าไปฟังการสัมมานาเรื่องพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่วัดพระธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ เมื่อปี พ.ศ. 2552 คนที่มาพูดบรรยายเป็นตัวแทนจากมหาลัยจุฬาลงกรณ์ เป็นคนที่มีความรู้ในด้านนี้โดยตรง ประเด็นของการสัมมานาในครั้งนี้ การนำศาสนาพุทธเพื่อเปรียบเทียบและเทียบเคียงกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นเราก็มานั่งฟังการสัมมนาได้เลยครับ เรื่องแรกที่พูดถึงก็คือแง่มุมที่ควรคำนึงถึงในการเปรียบเทียบพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ความไม่แน่นอนในทางวิทยาศาสตร์ใกล้เคียงกับหลักคำสอนในศาสนาอยู่มาก นั้นก็ทฤษฎีควอนตัม ถ้าพูดในแง่มุมของคนทั่วไปจะเข้าใจกันว่าความไม่แน่นอน คือ ความโลเล ความไม่เที่ยงของโลกนี้ เอาแน่เอานอนไม่ได้สักอย่าง แต่ในทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความคลาดเคลื่อนในการระบุค่าตัวเลขของปริมาณทางกายภาพ อะไรสักอย่างหนึ่งนี่แหละ ลองไปดูตัวอย่างกันครับ สมมุติว่าเราจะทำการวัดก๊อกน้ำล้างจาน โดยใช้สายวัด ไม้บรรทัดหรือตลับเมตรแล้วแต่ถนัดครับ ดูว่ายาวเท่าไหร่ ผมวัดได้ 10เซนติเมตร แต่ไม่บุไม่ได้ว่าเท่าไหร่กันแน่ 10.6 หรือ 10.7ดี เพราะมันอยู่กลางระหว่างสองเลขนี้พอไม่ตรงสักขีดเลย แต่ถึงอย่างไรก็ตามในทางวิทยาศาสตร์มีวิธีการระบุค่าความยาวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยที่พูดได้ว่า ก๊อกน้ำนี้มีความยาว 10.65 +- 0.05 เซนติเมตร แต่ถ้านำมาเปรียบกับศาสนาแล้วจะเป็นเช่นนี้ก็คือ ไม่มีอะไรแน่นอนไปซะทุกอย่าง เนื้อหนังและร่างกายของมนุษย์ไม่เที่ยง ไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลายสิ่งก็ตรงกับวิทยาศาสตร์หลายส่วนด้วย ในด้านของความเชื่อทางศาสนาก็จะมีหลักอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์อยู่เช่นกัน คำสอนทุกอย่างของศาสนาต้องอ้างอิงจากหนักความจริงด้วย ทุกอย่างต้องมีเหตุผลของมันอย่างเช่นการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสอนศาสนาว่า ถ้าทำชั่วก็จะได้รับแต่กรรม ถ้าทำดีก็ได้รับแต่กรรมดี