ประวัติวันมาฆบูชาที่คนไทยต้องรู้

วันมาฆบูชา คือ การบูชาวันเพ็ญเดือน 3 อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  มีเหตุการณ์อันสุดแสนอัศจรรย์เกิดขึ้น โดยพระสงฆ์สาวกจำนวน 1,250 รูป เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย โดยพระสงฆ์ทุกองค์ล้วนเป็นอรหันต์คือ ผู้ได้อภิญญา 6 อีกทั้งยังได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า สำหรับวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ต่อสงฆ์เหล่านั้น เนื้อหาโดยสรุปสั้นๆก็คือ ให้ละความชั่วทุกชนิด , ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

ประวัติความเป็นมาวันมาฆบูชา

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือน เมื่อท่านเสร็จพุทธกิจแสดงธรรม ณ ถ้ำสุกรขาตา ท่านก็เดินทางเสด็จมาประทับ ณ วัดเวฬุวัน ประเทศอินเดีย โดยวันนั้นเป็นวันตรงกับวันเพ็ญพอดี เมื่อช่วงบ่ายพระอรหันต์สาวกต่างเดินทางมาประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ใจมาก โดยมี 4 ประการ ได้แก่…

  • เป็นวันพระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป เดินทางมาประชุมพร้อมกัน ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ โดยไม่ได้นัดหมาย
  • พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น ผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า
  • พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ต่างมารวมตัวกัน ล้วนแต่บรรลุอรหันต์แล้ว
  • เป็นวันจันทร์เต็มดวง

ประวัติวันมาฆบูชา

หลังจากที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ท่านประกาศศาสนา พร้อมส่งพระอรหันต์สาวกออกไปเผยแพร่ตามสถานที่ต่างๆ ต่อมาเป็นเวลาหลังจากนั้น 9 เดือน วันที่จันทร์เต็มดวง หรือ 15 ค่ำ เดือน 3 พระอรหันต์ต่างพร้อมเพียงกันระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ที่เป็นศาสนาเดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ซึ่งตามคำสอนของศาสนาเดิมนั้น เมื่อถึงวันเพ็ญเต็มดวง เหล่าผู้ศรัทธา จะถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี และจะทำทำพิธีบูชาพระศิวะผู้ยิ่งใหญ่ด้วยการลอยบาปในน้ำ แต่มาถึงปัจจุบันนี้พวกตนได้ออกจากศาสนาเดิมเดิมหันมาเดินตามพระธรรมวินัยแล้ว จึงคิดว่าถ้าอย่างนั้นเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าบูชารับฟังพระธรรมดีกว่า จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยไม่ได้นัดหมายนั่นเอง

โอวาทปาฏิโมกข์

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ พุทธพจน์ 3 คาถา ได้แก่…

  • ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
  • บำเพ็ญทำแต่ความดี
  • ทำจิตของตนให้ผ่องใส

นี้ คือ คำสอนสำคัญอันเป็นแก่นของของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อีกทั้งยังต้องมี ขันติ หรือความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นตบะอย่างยิ่ง และพระพุทธเจ้าทั้งหลายยังกล่าวว่านิพพาน คือ ธรรมแห่งความยิ่งใหญ่ แต่ผู้ที่ทำร้ายคนอื่น ไม่ถือว่าเป็นบรรพชิต และผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ถูกยกย่องว่าเป็นสมณะการ